งานพัฒนา โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่เฉพาะป่าเกี๊ยะใหม่


ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้จากองค์ความรู้ของโครงการหลวงและการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพแก่เกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 5 หลักสูตร แก่เกษตรกรรวม 2,099  ราย ผลการดำเนินงานตามแผนแม่บท ดังแผนภาพ

 

การส่งเสริมอาชีพภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - 2559 โดยดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาความมั่นคงทางอาหาร ร่วมกับการสร้างรายได้เพิ่มเติมแก่ครัวเรือนของเกษตรกร โดยมีกิจกรรมและผลการดำเนินงานตามแผนแม่บท ประกอบด้วย

การส่งเสริมการปลูกพืชอาหารหลักเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร จำนวน 1,045 ครัวเรือน จำแนกเป็น

ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต การคัดพันธุ์ และการจัดการแปลงปลูกข้าวไร่แก่เกษตรกรรวม 1,045 ครัวเรือน (แบบนับซ้ำ)

การส่งเสริมการสร้างรายได้ภาคการเกษตรแก่ครัวเรือนเกษตรกรจำนวน 1,054 ครัวเรือน จำแนกเป็น

ส่งเสริมการปลูก การเพิ่มผลผลิต และการเก็บเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่ว (ถั่วแดงหลวง) แก่เกษตรกรรวม 621 ครัวเรือน (แบบนับซ้ำ)

ส่งเสริมการปลูกผักเพื่อการค้า  (กะหล่ำปลี, ผักกาดขาวปลี, ถั่วลันเตา)  แก่เกษตรกรรวม 29 ครัวเรือน (แบบนับซ้ำ)

ส่งเสริมการปลูก การจัดการสวน และการเพิ่มผลผลิตไม้ผลไม้ยืนต้น  (พลับเสาวรส, อะโวคาโด, มะคาเดเมีย) แก่เกษตรกรรวม 143 ครัวเรือน (แบบนับซ้ำ)

ส่งเสริมการดูแลรักษา การจัดการผลผลิต และการตลาดกาแฟอราบิก้า แก่เกษตรกรรวม 261 ครัวเรือน (แบบนับซ้ำ)

การส่งเสริมกลุ่มอาชีพหัตถกรรม จำนวน 114 ครัวเรือน

ส่งเสริมกลุ่มอาชีพหัตถกรรมรวม 2 กลุ่ม จำนวน 114 ครัวเรือน (แบบนับซ้ำ) ผลิตชิ้นงาน จำนวน 6,541 ชิ้น  ประกอบด้วย  ที่มัดผมลีซอ  กระเป๋าเย็บมือ  ผ้าเย็บมือลายลีซอ