งานพัฒนา โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่เฉพาะขุนตื่นน้อย


ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้จากองค์ความรู้ของโครงการหลวงและการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพแก่เกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 11 หลักสูตร แก่เกษตรกรรวม 1,422 ราย ผลการดำเนินงานตามแผนแม่บท ดังแผนภาพ

 

การส่งเสริมอาชีพภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - 2559 โดยดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาความมั่นคงทางอาหาร ร่วมกับการสร้างรายได้เพิ่มเติมแก่ครัวเรือนของเกษตรกร โดยมีกิจกรรมและผลการดำเนินงานตามแผนแม่บท ประกอบด้วย

การส่งเสริมการปลูกพืชอาหารหลักเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร จำนวน 1,228 ครัวเรือน จำแนกเป็น

ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต การคัดพันธุ์ และการจัดการแปลงปลูกข้าวไร่ แก่เกษตรกรรวม 551 ครัวเรือน (แบบนับซ้ำ)

ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต การคัดพันธุ์ และการจัดการแปลงปลูกข้าวนาดำ  แก่เกษตรกร 677 ครัวเรือน (แบบนับซ้ำ)

การส่งเสริมการสร้างรายได้ภาคการเกษตรแก่ครัวเรือนเกษตรกรจำนวน 965 ครัวเรือน จำแนกเป็น

ส่งเสริมการปลูก การเพิ่มผลผลิต และการเก็บเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่ว (ถั่วแดงหลวง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ) แก่เกษตรกรรวม 154 ครัวเรือน (แบบนับซ้ำ)

ส่งเสริมการปลูก การจัดการสวน และการเพิ่มผลผลิตไม้ผลไม้ยืนต้น  (พลับ, เสาวรส, อะโวคาโด, มะม่วง) แก่เกษตรกรรวม 173 ครัวเรือน (แบบนับซ้ำ)

ส่งเสริมการดูแลรักษา การจัดการผลผลิต และการตลาดกาแฟอราบิก้า แก่เกษตรกรรวม  389 ครัวเรือน (แบบนับซ้ำ)

ส่งเสริมการเลี้ยงและการจัดการฟาร์มปศุสัตว์ แก่เกษตรกร รวม 249 ครัวเรือน (แบบนับซ้ำ) จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ ไก่พื้นเมือง  สุกร วัวและกระบือ

การส่งเสริมกลุ่มอาชีพหัตถกรรม จำนวน 91 ครัวเรือน

ส่งเสริมกลุ่มอาชีพหัตถกรรม รวม 2 กลุ่ม จำนวน  91 ครัวเรือน  ผลิตชิ้นงาน จำนวน   1,062 ชิ้น  ประกอบด้วย  ที่ กระเป๋าเย็บมือ เสื้อชนเผา